ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง
รายการทนายคลายทุกข์ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ เมื่อถูกฟ้องดำเนินคดีแพ่ง จากส่วนประชาสัมพันธ์และบริการประชาชน ศาลแพ่ง มาเผยแพร่ให้กับพี่น้องประชาชนได้รับทราบ เมื่อต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากศาลแพ่ง มา ณ ที่นี้ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามที่ศาลแพ่ง ได้ที่หมายเลข 02-512-8478,02-541-2420-9
1. ต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง (คดีมโนสาเร่และคดีที่ไม่มีข้อยุ่งยากจำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาได้)
2. กรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่น เช่น เจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องไว้ที่บ้าน หรือที่ทำงานของจำเลย หรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับ เมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันปิด หรือวันประกาศโฆษณา จำเลยจึงยื่นคำให้การภายใน 30 วัน (15+15)
3. จำเลยอาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษก่อนสิ้นระยะนั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย คู่ความอาจขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้ภายหลังจากที่เหตุสุดวิสัยนั้นสิ้นสุดลง และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาก็ได้
4. เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามคำสั่งศาล ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ทางแก้สำหรับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ
กรณีจำเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยแจ้งต่อศาลว่าประสงค์จะสู้คดี และขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การ หากศาลเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ หรือมีเหตุอื่นอันสมควรศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ การแจ้งความประสงค์จะสู้คดีนี้ จะทำเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนก็ได้
หากจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลว่าประสงค์จะสู้คดี หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การมีผลทำให้จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบไม่ได้ จำเลยมีสิทธิเพียงถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบพยานเท่านั้น
กรณีจำเลยมาศาลภายหลังจากที่ศาลตัดสินคดีแล้ว จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่ ภายในกำหนดเวลาดังนี้
1. ในกรณีปกติให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
2. ในกรณีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นั้นสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ห้ามจำเลยยื่นคำขอต่อศาลเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น และแม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ยังไม่สิ้นสุด
3. การสืบพยาน
คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานนัดแรกไม่น้อยกว่า 7วัน หากคู่ความประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมให้ยื่นคำแถลงต่อศาลภายใน 15วัน นับแต่วันสืบพยานนัดแรก? หากการสืบพยานนัดแรกพ้น 15 วันแล้ว การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมจะต้องทำเป็นคำร้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจยื่นภายในกำหนด โดยยื่นคำร้องพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาที่จะส่งให้อีกฝ่าย
กรณีที่จำเลยขาดยื่นคำให้การ จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
4. ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง
เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาหรือเสร็จการไต่สวน ศาลจะชี้ขาดตัดสินคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วแต่กรณี
5. การอุทธรณ์-ฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ หรือเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วคู่ความฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับศาลอุทธรณ์มีสิทธิฎีกาต่อศาลฎีกาได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ข้อโต้แย้งที่คู่ความหยิบยกขึ้นแยกได้เป็นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง โดยหลักถ้าเป็นข้อกฎหมายจะไม่มีข้อความห้ามในการอุทธรณ์ฎีกา แต่สำหรับข้อเท็จจริงนั้น หากทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท หรือทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาล
อุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุอันสมควรอุทธรณ์ฎีกาหรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาค (กรณีอุทธรณ์)หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (กรณีฎีกา)
คดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว หรือคดีฟ้องขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ (หรือที่เรียกว่าคดีไม่มีทุนทรัพย์) สามารถอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ยกเว้นคดีฟ้องขับไล่ ซึ่งถือเป็นคดีฟ้อง ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในในขณะยื่นฟ้องไม่เกิน4,000 บาท (กรณีอุทธรณ์) หรือไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท (กรณีฎีกา) ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง
คู่ความอาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกาได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย คู่ความอาจขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ภายหลัง จากที่เหตุสุดวิสัยนั้นสิ้นสุดลงและเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาก็ได้
8. การบังคับคดี
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างใดซึ่งจะต้องมีการบังคับคดี ศาลจะมีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับในวันที่พิพากษา หรือคำสั่ง และถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในวันนั้น ศาลจะให้ลงลายมือชื่อรับทราบคำบังคับ แต่หากมิได้มาในวันดังกล่าว เจ้าพนักงานศาลจะส่งคำบังคับนั้นไปยังลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยในคำบังคับจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไข หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับนั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์ หรือถูกจับ และจำขังแล้วแต่กรณี
หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับภายในเวลาที่กำหนด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี
อย่างไรก็ดี เมื่อบุคคลใดถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษา และแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินกระบวนพิจารณาแทน
ทนายคลายทุกข์และทีมงานทนายความ ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา ร้องทุกข์ ร้องเรียน ไม่ได้รับความเป็นธรรม เจรจาหนี้สิน สืบทรัพย์ บังคับคดี รับอบรมสัมมนา พัฒนาบุคคลกรทางด้านกฎหมาย อบรมนักทวงหนี้ ให้คำแนะนำในการปล่อยสินเชื่อ โดยทีมงานทนายความมืออาชีพสอบถาม 02-948-5700, 081-625-2161
ที่มา :: http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=358
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น