คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจเพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น• การแจ้งความต่าง ๆ
• การขออนุญาตต่าง ๆ
• การยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา
การแจ้งความต่าง ๆเพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมื่อท่านไปติดต่อที่
โรงพักท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ๑. บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบแทนฯ หรือ
๒. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
๓. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
๔. หนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
๕. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่น ให้นำหลักฐานต่างๆ ดังนี้
ติดตัวไปด้วย
๕.๑ ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์
๕.๒ ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)
๕.๓ ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่านนำ
หลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน หรือสามีหรือภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียนสมรส)
สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
๕.๔ ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีหรือภรรยา แล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือเป็น
ตัวแทนโดยสมบูรณ์
๕.๕ ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ
๕.๕.๑ หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐาน พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ ๕ บาท
๕.๕.๒ หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์นอกจากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากเป็นกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ ท่านต้องนำหลักฐานเพิ่มเติม
ไปอีกคือ
แจ้งความคนหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ๑. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
๒. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย
๓. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)
๔. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)
แจ้งรถหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือพาหนะอื่นๆ ที่หาย
๒. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
๓. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ไปแจ้งความ ควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของ
ห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย
๔. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)
๕. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถให้จดยี่ห้อ
สี แบบ หมายเลข ประจำเครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)
แจ้งอาวุธปืนหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน
๒. ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้านขายปืนออกให้
แจ้งทรัพย์สินหาย หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ
๑. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานแสดงการซื้อขายทรัพย์สินนั้น
๒. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
๓. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
๔. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี
แจ้งพรากผู้เยาว์ หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เยาว์
๒. ใบเกิดของผู้เยาว์ (สูติบัตร)
๓. รูปถ่ายของผู้เยาว์
๔. ใบสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี)
แจ้งถูกข่มขืนกระทำชำเรา หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบน้ำอสุจิ หรือรอยเปื้อนอย่างอื่น อันเกิดจากการข่มขืน และ
สิ่งของต่างๆ ของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ
๒. ใบสำเนาสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เสียหาย
๓. รูปถ่าย หรือที่อยู่ของผู้ต้องหาตลอดจนหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
แจ้งถูกทำร้ายร่างกายและถูกฆ่าตาย หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ
ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ
๒. ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิด
เหตุจนกว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ
๓. รายละเอียดเท่าที่สามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้
แจ้งถูกปลอมแปลงเอกสาร หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ นส.๓ แบบ สค. ๑ หนังสือสัญญาใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
๒. หนังสือที่ปลอมแปลง
๓. ตัวอย่างตามที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นให้หนังสือ
แจ้งถูกฉ้อโกงทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. หนังสือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง
๒. หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์
๓. หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์
แจ้งถูกยักยอกทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
๒. ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ
๓. สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่น ตามคำสั่งของ
ศาลหรือพินัยกรรม
แจ้งถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเช่าซื้อ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา
๒. ใบสำคัญการติดต่อซื้อขาย เช่า ยืม ฝาก
๓. ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนักและหมายเลขประจำตัว
แจ้งทำให้เสียทรัพย์ หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น
๒. หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้
๓. หากเป็นของใหญ่โตหรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ให้เก็บรักษาไว้
อย่าให้เกิดการเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป
แจ้งจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. เช็คที่ยึดไว้
๒. หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้อง หรือปฏิเสธการจ่ายเงิน
การขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้กระทำผิด เมื่อผู้เสียหายไปพบในท้องที่อื่น หลักฐานที่ควรนำไปแสดง
ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคือ๑. สำเนาการรับแจ้งความ สมุดประจำวันของสถานีตำรวจที่รับแจ้งความ ให้ปรากฏวัน เดือน ปี
ที่รับแจ้งความไว้ (ข้อประจำวัน)
๒. สำเนาหมายจับ (ถ้ามี)
๓. หนังสือรับรองของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แสดงว่าได้ออกหมายจับไว้แล้ววิธีปฏิบัติ ถ้าท่านมีความจำเป็นที่จะแจ้งความตามกรณีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ให้ท่านไปพบพนักงาน
สอบสวน ณ โรงพักที่ใกล้ที่สุดแจ้งความประสงค์ และรายละเอียดให้ร้อยเวรทราบ พร้อมทั้งแสดงหลักฐาน
ต่างๆ ตามแต่กรณีที่ได้นำติดตัวมาแก่พนักงานสอบสวนหมายเหตุ ในโอกาสที่ไปแจ้งความ หรือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น นอกจากนำหลักฐานไป
แสดงแล้ว ถ้าหากท่านสามารถพาพยานบุคคลที่รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไปพบพนักงานสอบสวนด้วยก็
จะเป็นประโยชน์แก่ท่าน และพนักงานสอบสวนเป็นอย่างมาก เพราะจะสามารถดำเนินเรื่องของท่านให้แล้ว
เสร็จได้เร็วขึ้น๑. หากไม่อาจเขียนคำร้องขอประกันได้เอง ให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียน
คำร้องให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
๒. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้วให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกัน ซึ่งต้องลงเวลารับคำร้อง
ไว้ด้วย
๓. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับคำ
ร้อง
หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่งทราบทันที
การขออนุญาตต่างๆ
๑. การขออนุญาตแสดงมหรสพชั่วคราว เช่น งานบวชนาค โกนจุก เผาศพ ฯลฯ๑.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพ
๑.๒ ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของสถานที่แสดงมหรสพ
๑.๓ ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๑.๔ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๑.๕ สารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่พิจารณาอนุญาตได้
๒. ขออนุญาตจัดงานประจำปีของวัดซึ่งเป็นงานใหญ่๒.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพ
๒.๒ หนังสืออนุมัติให้จัดงานวัดจากเจ้าคณะแขวง เจ้าคณะเขต หรือเจ้าคณะภาค แล้วแต่กรณีตาม
ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการจัดงานวัด
๒.๓ หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าอาวาส ในกรณีที่เจ้าอาวาสไม่อาจไปขออนุญาตด้วยตนเองได้
๒.๔ แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่จัดงาน
๒.๕ ขออนุญาตให้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๒.๖ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๒.๗ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๓. ขออนุญาตจัดงานทั่วไปที่เป็นงานใหญ่๓.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่แสดงมหรสพหรือสถานที่จัดงาน
๓.๒ แสดงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
๓.๓ มหรสพที่จัดให้มีการแสดง หรืองานที่จะจัดขึ้น
๓.๔ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๓.๕ ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง (หากมี)
๓.๖ แผนที่สังเขปบริเวณที่จัดงาน และแสดงมหรสพ
๓.๗ เลิกการแสดงมหรสพ เวลา ๒๔.๐๐ น.
๓.๘ เสนอเรื่องตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
๓.๙ หากเลิกการแสดงเกินเวลา ๒๔.๐๐ น. ต้องเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกระทรวง
มหาดไทย
๔. ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง๔.๑ ผู้ขอไปขอคำร้องขอใช้เครื่องขยายเสียงจากเขต
๔.๒ นำคำร้องมายื่นต่อสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่เพื่อพิจารณามีความเห็นก่อน
๔.๓ นำคำร้องกลับคืนไปยังเขตที่ขอใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อพิจารณาอนุญาต
๕. ขออนุญาตจุดดอกไม้เพลิง๕.๑ ไปยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาล ท้องที่ที่ขอจุดดอกไม้เพลิง
๕.๒ แผนที่สังเขปบริเวณที่จุดดอกไม้เพลิง
๕.๓ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จุดดอกไม้เพลิง กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๕.๔ หลักฐานแสดงว่า ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าประเภท ดอกไม้เพลิง
๕.๕ ห้ามจุดพลุและตะไล
๕.๖ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาอนุญาต๖. ขออนุญาตแสดงมหรสพงิ้ว
๖.๑ ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ พร้อมนำบทประพันธ์และเครื่องแต่งกายของงิ้วที่จะ
แสดงไปด้วย
๖.๒ ส่งบทประพันธ์และเครื่องแต่งกายงิ้วให้ผู้กำกับการ ๓ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล ตรวจ
สอบก่อน
๖.๓ แผนที่สังเขปสถานที่แสดงงิ้ว
๖.๔ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่แสดงงิ้ว กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของสถานที่
๖.๕ การแสดงงิ้วห้ามให้เครื่องขยายเสียงโดยเด็ดขาด
๖.๖ เสนอเรื่องราวตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาอนุญาต
๖.๗ ต้องไปชำระเงินค่าทำความสะอาดต่อเขตท้องที่
๗. ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน๗.๑ ไปยื่นคำร้องเรื่องราวที่แผนกอาวุธปืน กองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๗.๒ แผนกอาวุธปืน กองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะส่งเรื่องมายังกองบัญชาการตำรวจนคร
บาล เพื่อส่งผ่านให้สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่
๗.๓ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ต้องสอบสวนคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
๗.๔ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่รวบรวมหลักฐานรับรองการประกอบอาชีพ รายได้หลักทรัพย์ และ
อื่นๆ
๗.๕ พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอส่งไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
๗.๖ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่บันทึกการตรวจสอบความประพฤติ หลักทรัพย์
๗.๗ รวบรวมหลักฐานทั้งหมดเสนอตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล
๗.๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณาเสนอไปยังกองทะเบียนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อ
พิจารณา
๘. การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน๘.๑ ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขอมีอาวุธปืน
๘.๒ ใบมรณบัตรของผู้ตาย
๘.๓ หนังสือพินัยกรรมของผู้ตาย หรือคำสั่งของศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก (หากมี)
๘.๔ สอบสวนปากคำทายาททุกคน
๙. การพนันประเภทไพ่จีน, ไพ่ไทย, ไพ่ซีเซ็ก, ไพ่นกกระจอก๙.๑ ยื่นคำร้องขอต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่ขออนุญาต
๙.๒ แบบแปลนแผนผังบ้านที่ขอเล่นการพนัน
๙.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน
๙.๔ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่สอบสวนปากคำผู้ขออนุญาต
๙.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่พิจารณาออกใบอนุญาตได้
๑๐. การขอตั้งสมาคม๑๐.๑ ยื่นคำร้องต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ พร้อมวิธีการและสิ่งของรางวัลโดยละเอียด
๑๐.๒ หลักฐานการเป็นเจ้าของสินค้า, เครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย
๑๐.๓ วิธีการโฆษณาและการมอบของรางวัล
๑๐.๔ หลักฐานการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท
๑๐.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ส่งวิธีการชิงโชคฯ ไปให้ผู้ชำนาญการพนันตรวจสอบก่อน
๑๐.๖ รวบรวมหลักฐานเสนอตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา
๑๑. การขอตั้งสมาคม๑๑.๑ ยื่นเรื่องราวคำร้องต่อตำรวจสันติบาล
๑๑.๒ ตำรวจสันติบาลส่งเรื่องไปยังผู้บัญชาการ เพื่อส่งสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่สมาคมตั้งอยู่
ดำเนินการตรวจสอบสถานที่ตั้ง
๑๑.๓ เมื่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ดำเนินการเรียกร้อยแล้วเสนอเรื่องตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการ
ตำรวจนครบาล
๑๑.๔ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเสนอเรื่องคืนตำรวจสันติบาลพิจารณาดำเนินการต่อไป๑๒. ขออนุญาตเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
๑๒.๑ ผู้ขอยื่นเรื่องราวคำร้องและแบบแปลนแผนผังการก่อสร้างต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่พร้อม
สำเนาโฉนดที่ดิน
๑๒.๒ กรณีผู้ขอไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ต้องให้เจ้าของที่ดินยินยอมก่อน
๑๒.๓ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ส่งเรื่องให้ กรมโยธาธิการ, ที่ว่าการกรุงเทพมหานคร, กองบังคับ
การตำรวจดับเพลิง, กองบังคับการตำรวจจราจร ตรวจสอบมีความเห็น
๑๒.๔ กรณีที่ก่อสร้างเป็นอาคาร ต้องขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากที่ว่าการกรุงเทพมหานคร อีก
ชั้นหนึ่ง
๑๒.๕ สถานีตำรวจนครบาลท้องที่รวบรวมหลักฐานทั้งหมดเสนอตามลำดับชั้นถึงผู้บังคับการ
๑๒.๖ ผู้บังคับการ จะนัดประชุมคณะกรรมการและส่งเรื่องคืนสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ เพื่อทำ
หนังสือนัดกรรมการประชุม
๑๒.๗ เมื่อประชุมเรียบร้อยแล้วเสนอถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาล
๑๒.๘ กองบัญชาการตำรวจนครบาล พิจารณามีความเห็นเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา
๑๒.๙ กรณีขอเก็บน้ำมันในถังใหญ่ (เช่น คลังน้ำมัน) ต้องเสนอกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุมัติ
ก่อน
๑๓. ขออนุญาตชกมวยชั่วคราว๑๓.๑ ต้องเป็นงานเทศกาล หรืองานนักขัตฤกษ์
๑๓.๒ ผู้ขออนุญาตยื่นเรื่องราวต่อสถานีตำรวจนครบาลท้องที่
๑๓.๓ แบบแปลนแผนผันสถานที่ กรณีผู้ของไม่ใช่เจ้าของสถานที่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
สถานที่ก่อน
๑๓.๔ คำร้อง พน.๑ (คำขออนุญาตเล่นการพนันชกมวย)
๑๓.๕ คำรับรองของกรรมการห้ามมวย, กรรมการจับเวลา และ
๑๓.๖ เสนอตามลำดับชั้นถึงกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา หมายเหตุ การดำเนินการขออนุญาตต่างๆ ควรยื่นยังสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ ก่อนที่จะถึงกำหนด
วันขออนุญาตอย่างน้อย ๑๕ วัน
การยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา
ตามนัยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๔ วรรคสอง
มาตรา ๑๑๐ “ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีขึ้นไปผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และ
จะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็
ได้”
มาตรา ๑๑๔ “เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วยก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้อง
ขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ”หลักประกันมี ๓ ชนิด คือ
(๑) มีเงินสดมาวาง
(๒) มีหลักทรัพย์อย่างอื่นมาวาง
(๓) มีบุคคลมาเป็นหลักประกันโดยแสดงหลักทรัพย์หลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน
๑. เงินสดเป็นธนบัตรของรัฐบาลไทย
๒. โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่า ที่ดินมีราคาสูง
ไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
๓. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส. ๓ ก. ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาหรือพนักงานสอบ
สวนเชื่อว่าที่ดิน มีราคาไม่น้อยกว่า ๒ เท่าของจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
๔. พันธบัตรของรัฐบาลไทย
๕. สลากออกมสินและสมุดฝากเงินประเภทประจำ
๖. ใบรับฝากประจำของธนาคาร
๗. ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
๘. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
๙. เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
๑๐.หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
หลักฐานประกอบ๑. กรณีที่ผู้ยื่นคำร้องขอประกันเป็นผู้ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แล้วต้องให้สามีหรือภรรยา
ที่เป็นคู่สมรสมีหนังสือรับรองอนุญาตให้ทำสัญญาประกันได้
๒. กรณีที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักประกัน ต้องให้เจ้าของ
ร่วมมีหนังสือยินยอม ให้นำหลักทรัพย์นั้นมาวางเป็นหลักประกันด้วย
๓. ทุกครั้งที่มาติดต่อกับทางราชากร ควรมีบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกมาให้ด้วย
วิธีขอยื่นขอประกัน๑. ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหาพบ และยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่
ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
๒. หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน
๓. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้วให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่งต้องลงเวลารับคำร้อง
ไว้ด้วย
๔. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับคำร้อง
๕. หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่ง
ทราบทันที
การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๖๒๒/๒๕๓๖ เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลัก
ประกันในการปล่อยชั่วคราว ได้วางหลักเกณฑ์เป็นทางปฏิบัติ ดังนี้๑. ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๓ ถึง ๕ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการหรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตรี - เรือตรี เรืออากาศตรีหรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพัน
ตำรวจตรี ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๖ ถึง ๘ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการทหาร หรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโทถึงพันเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจ
เอก ข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการอัยการ ตั้งแต่ชั้น ๑ หรือ ๒ ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวง
เงินไม่เกินสองแสนบาท (๒๐๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๙ หรือ ๑๐ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า ข้าราชการทหาร หรือข้าราช
การตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอกที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก
(พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือพันตำรวจเอก (พิเศษ) ถึงพลตรี พลเรือตรี พลอากาศ
ตรี หรือพลตำรวจตรี ข้าราชการตุลาการ หรือข้าราชการอัยการ ตั้งแต่ชั้น ๓ ถึง ๔ ทำสัญญาประกันผู้อื่น
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินห้าแสนบาท (๕๐๐,๐๐๐ บาท)
ให้ข้าราชการพลเรือนระดับ ๑๑ หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่าข้าราชการทหาร หรือข้าราชการ
ตำรวจที่มียศตั้งแต่พลโท พลเรือโท พลอากาศโทหรือพลตำรวจโท ข้าราชการตุลาการหรือข้าราชการอัยการตั้ง
แต่ชั้น ๕ ขึ้นไปทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)
ข้าราชการดังกล่าวในข้อ ๑ หมายถึงข้าราชการประจำเท่านั้น
๒. ให้ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไปทำสัญญาประกันผู้อื่น หรือตนเองได้ใน
วงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
วงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
๓. ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในทำนองเดียวกับข้าราชการตามที่
ระบุไว้ในข้อ ๑
ระบุไว้ในข้อ ๑
๔. ให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำสัญญาประกันผู้อื่น
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)
หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท)
๕. ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา
สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร กรรมการสุขาภิบาล กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร กรรมการสุขาภิบาล กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเอง
ได้ในวงเงินไม่เกินหกหมื่นบาท (๖๐,๐๐๐ บาท)
๖. ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกันตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ แสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิด
ชอบพิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้าในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับอัตราเงินเดือน หรือภาระผูก
พันอื่นใดอาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจากต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่
ได้รับอนุญาตให้ประกัน
ชอบพิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้าในกรณีจำเป็นเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับอัตราเงินเดือน หรือภาระผูก
พันอื่นใดอาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจากต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้น ภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่
ได้รับอนุญาตให้ประกัน
๗. ในกรณีบุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้ แต่หลัก
ประกันยังไม่เป็นการเพียงพอให้ใช้บุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลอื่นหรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกัน
เพิ่มเติมได้
ประกันยังไม่เป็นการเพียงพอให้ใช้บุคคลตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๕ บุคคลอื่นหรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกัน
เพิ่มเติมได้
ที่มา : กระทรวงยุติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น