วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

คะน้า ผักธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

             คะน้า ผักธรรมดาที่ไม่ธรรมดา


ผักคะน้า ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จัก เพราะเป็นผักที่มีขายอยู่ทั่วไป หาซื้อง่าย นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด และยังเป็นส่วนประกอบ ใส่ลงในก๋วยเตี๋ยวหลายอย่างได้อร่อย เช่น ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว และยังเป็นของเคียงกับ อาหารยำต่างๆ ได้ดีอีกด้วย แถมราคาไม่แพง รสชาติดี ยิ่งเมื่อเริ่มเข้าหน้าหนาว ผักจะสวย ราคาถูกเป็นพิเศษ อาจจะเป็นเพราะ ผักชอบอากาศหนาว เลยทำให้ผักสวย และได้จำนวนการผลิตมาก

คะน้า เป็นผักที่ปลูกได้ทุกท้องที่ และภูมิอากาศ ช่วงระยะเวลาที่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 45 วัน ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มากนัก เสียแต่ว่าผักคะน้า จะมีศัตรูพืชมาก โดยเฉพาะหนอนและเพลี้ย สาเหตุนี้เอง เลยทำให้ผู้ที่ปลุกใช้ยาฆ่าแมลง และสารเคมีต่างๆ เพื่อไม่ให้ผักเสียหาย จึงทำให้ผักคะน้า เป็นผักที่ไม่ค่อยปลอดสารพิษ แต่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการทำผักปลอดสารพิษกันมาก จึงทำให้ผู้บริโภค ได้ความปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น เวลาที่จะซื้อมาบริโภค ก็ควรเลือกที่ไว้ใจได้ ถ้าพอมีที่ทางมาลองปลูกคะน้าไว้กินเอง ก็จะเป็นการดีกินได้สบายใจ

เมล็ดคะน้าสีจะออกดำๆ มีบรรจุซองขายนำมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วโรยลงบนดิน ที่ผสมปุ๋ยหมักเตรียมไว้ คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง พองอกต้นอ่อนๆ ค่อยย้ายลงแปลงหรือกระถาง พอต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ถอนต้นอ่อนบางส่วนออก บางต้นที่ถอนออก จะเป็นลูกคะน้า ผัดไฟแดงอร่อยมาก เพื่อจะได้เปิดช่องว่าง ให้ต้นที่แข็งแรงกว่าเติบโต รดน้ำให้ชุ่ม ใส่ปุ๋ยบ้าง เป็นครั้งคราว ประมาณ 45 วัน คะน้าจะโตเต็มที่ ให้ตัดยอดรุ่นแรกไปกินได้ ให้เหลือโคนต้นพอประมาณ ต้นคะน้าจะแตกยอดใหม่ ให้กินได้อีก 2-3 ครั้ง แต่ระวังหนอนผักหน่อย ถ้าเจอรีบเขี่ยออก มิฉะนั้นคะหน้าจะเหลือแต่ตอ

ใบเขียวจัดของคะน้า เป็นแหล่งรวมแร่ธาตุวิตามิน ที่คับคั่งและเข้มข้น ที่พบมากมายมหาศาล ก็คือเบต้า-แคโรทีน ที่กำลังมาแรง ในแวดวงอาหารเสริมสุขภาพ

เบต้า-แคโรทีน คือหนึ่งในสารประมาณ 500 ชนิด ที่รวมอยู่ในกลุ่ม "แคโรทีนนอย" ซึ่งเมื่อถ่ายโอนจากผัก สู่ร่างกายมนุษย์ จะกลายเป็นฐานในการแปรรูปสู่วิตามินเอ ซึ่งมีการค้นพบมานานแล้วว่า เป็นวิตามินที่สัมพันธ์ กับการเกิดมะเร็ง โดยในเลือดของผู้ป่วยโรคนี้ ได้รับการ วิเคราะห์พบว่า มีวิตามินเออยู่ในปริมาณต่ำ ขณะเดียวกัน การกินวิตามินเอให้เพียงพอ ช่วยลดความเสี่ยงต่อ การเกิดมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ ลำคอ ปอด และกระเพาะปัสสาวะได้ และมีการค้นพบข้อเท็จจริง ชัดเจนขึ้นอีกว่า สารที่ไปยั้งมะเร็งนั้น ไม่ใช่วิตามินเอโดยตรง แต่ได้แก่สาร เบต้า-แคโรทีนต่างหาก

แต่ละวันมนุษย์จะได้รับวิตามินเอ จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และพืชผัก-ผลไม้ โดยวิตามินเอจากสัตว์นั้น มนุษย์รับมาใช้ประโยชน์ได้เลยโดยตรง เมื่อร่วมกินกับไขมัน แต่สำหรับพืช ซึ่งมีโครงสร้างต่างจากสัตว์และมนุษย์ วิตามินเอจะอยู่ในรูปของแคโรทีนนอย ซึ่งร่างกายมนุษย์ ต้องนำมามาแปรรูปให้เป็น วิตามินเอต่อไป ด้วยกระบวนการทำงานประสานกัน ของระบบอวัยวะและแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ

คะน้าและพืชร่วมสกุลกะหล่ำ เป็นแหล่งเบต้าแคโรทีนอันเยี่ยมยอด จะเอาไปล้างหรือปรุง ด้วยความร้อนในรูปใด ก็ยังคงคุณค่ามหาศาลนี้เอาไว้ได้ แต่หากกินสดได้จะวิเศษมาก เพราะของดีที่มีในคะน้าอีกลหายอย่าง ต้องการการประคบประหงม เช่นวิตามินซ

ยอดคะน้าสด อุดมไปด้วยวิตามินซี และเกลือแร่จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้นกันโรค แข็งแรงสมบูรณ์น้องๆ เบต้า-แคโรทีน แต่วิตาในซีสลายไปได้ง่าย ด้วยน้ำและอากาศ ฉะนั้น กินคะน้าเมื่อไหร่ ต้องชะลอการหั่นไว้ ในขั้นตอนสุดท้าย

เมื่อเห็นคะน้าต้องนึกถึงความกรอบ น่ากิน และรสดีของคะน้า เสน่ห์ของผักคะน้า จึงทำให้มีผู้บริโภคกันมาก นำมาประกอบเป็นอาหารหลากหลาย ข้อสำคัญระวังเรื่องผักไม่ปลอดสารพิษ ควรเลือกดูก่อนซื้อมาบริโภค สิ่งที่สำคัญ เพื่อความแน่ใจในการบริโภค คือ ต้องล้างผักให้แน่นใจ ก่อนนำไปบริโภค การล้างผักคะน้า ที่ใบคะน้ามีไขสีเท่าเคลือบเอาไว้ บางคนสงสัยว่าเป็นสารเคมีหรือเปล่า ที่จริงไม่ใช่ ไขขาวๆ ที่เห็นนัน้เป็นสารธรรมชาติ ไม่มีพิษภัย แต่ซึมซับเอาละอองยาฆ่าแมลงได้ดี ฉะนั้น ยามล้างใบคะน้า จึงควรลูบไขขาวๆ นี้ออก หรือหากใส่เกลือ หรือโซดาไบคาร์บอเนต ไม่ก็เหยาะน้ำส้มสายชูสักหน่อย วิธีใดวิธีหนึ่ง ช่วยกำจัดยาฆ่าแมลงออกได้ ที่ดีกว่าการล้าง คือ การเลือกคะน้าที่มีรอยแมลงกิน แสดงว่าปลอดภัย

คะน้า เป็นผักสร้างกระดูกเหมือนใบยอ แต่ดีกว่าใบยอที่ว่ากินง่าย และกินได้บ่อย หาซื้อก็ง่าย ใบคะน้า มีแคลเซียมสูง งานวิจัยของ Robert P.H (1990) ศึกษาการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย พบว่า ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียม จากคะน้าได้ไม่น้อยกว่าแคลเซียมจากนม

คะน้า ชื่อทางวิทศาสตร์ Brassica oleracea CV. Group Chinese kale วงศ์ Brassicaceae




แหล่งข้อมูล : www.yingthai-mag.com - ฉบับที่ 674 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546







.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น