ข้อมูลทั่วไป
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาในภาคใต้ เริ่มก่อตั้ง ในปี 2516 จัดการศึกษาพยาบาลในระดับอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นศูนย์กลางการศึกษาพยาบาลในภาคใต้ และผลิตบุคลากรพยาบาล ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิชาโรงเรียนพยาบาล สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2516 และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2523 โดยปัจจุบันมีภาควิชาดังนี้
ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช ภาควิชาการบริหารการศึกษาพยาบาลและบริการการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา คือ ฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย
ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช ภาควิชาการบริหารการศึกษาพยาบาลและบริการการพยาบาล ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา คือ ฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย
ประวัติคณะ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาในภาคใต้ ซึ่งจัดการศึกษาพยาบาลในระดับอุดมศึกษา ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นศูนย์กลางการศึกษาพยาบาลในภาคใต้ และผลิตบุคลากรพยาบาล ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะเริ่มแรกที่ก่อตั้ง ในปี 2516 คณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิชาโรงเรียนพยาบาล สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2516 จำนวน 19 คนในหลักสูตร อนุปริญญาพยาบาลและผดุงครรภ์ มีระยะเวลาศึกษา 3 ปี 6 เดือนซึ่งรับเพียงรุ่นเดียว ในปีต่อมาได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) มีระยะเวลาศึกษา 4 ปีนักศึกษารุ่นแรกของหลักสูตรนี้มีนักศึกษาจำนวน 20 คน ต่อมาภาควิชาโรงเรียนพยาบาลได้ยกฐานะเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2523 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 4 ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 ตอนที่ 154 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2523 คณะพยาบาลศาสตร์ มีวิวัฒนาการด้านการจัดการศึกษามาตั้งแต่เริ่มดำเนินการ ดังนี้
ระยะแรกปีการศึกษา 2516
เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาพยาบาลและผดุงครรภ์ ซึ่งปิดเมื่อปีการศึกษา 2517
ปีการศึกษา 2517
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) ปิดเมื่อปีการศึกษา 2522
ปีการศึกษา 2521
เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ ระยะเวลาศึกษา 6 เดือน หลักสูตรนี้สอนถึงปีการศึกษา 2525 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของหลักสูตร วทบ. (พยาบาล)
ปีการศึกษา 2522
ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) พุทธศักราช 2522 และได้ปิดในปีการศึกษา 2531
ปีการศึกษา 2529
เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 1 ปี) พุทธศักราช 2529 และได้ปิดลงในปีการศึกษา 2534 เพราะความต้องการของผู้เรียนมีน้อย
ปีการศึกษา 2530
ปีพ.ศ. 2530 เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) พุทธศักราช 2529
ปีการศึกษา 2531
ปี พ.ศ. 2531 คณะฯได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง) พุทธศักราช 2531
ปีการศึกษา 2533
เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2533 มี 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และ สาขาวิชาการพยาบาลบิดามารดาและเด็ก
ปีการศึกษา 2535
ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2533 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2535) คงมี 2 สาขาวิชาเท่าเดิม
ปีการศึกษา 2537
ปรับปรุงทั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง) พุทธศักราช 2531 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ. 2537) และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) พุทธศักราช 2529 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537
ปีการศึกษา 2538
เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537) และหยุดรับนักศึกษา สาขาวิชาการพยาบาลบิดามารดาและเด็ก เป็นการชั่วคราว เพื่อปรับปรุงหลักสูตร
ปีการศึกษา 2541
เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2540
ปีการศึกษา 2544
เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ภาคสมทบ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537)
ปีการศึกษา 2545
เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล(หลักสูตรนานาชาติ)หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2545 เปลี่ยนแปลงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537) เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545 มี 6 สาขาวิชา คือ การพยาบาลเด็ก การพยาบาลสตรี การพยาบาลผู้ใหญ่ (มีภาคปกติและภาคพิเศษ) การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลครอบครัวและชุมชน และการบริหารการพยาบาล เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช เป็นหลักสูตรลักษณะโครงการพิเศษ โดยความร่วมมือ ทางวิชาการกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) เป็นหลักสูตรพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2545 ปรับเนื้อหาวิชาบางรายวิชาใน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2540 โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตร
ในปีการศึกษา 2546
ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ. 2537) เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2546
ปีการศึกษา 2548
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2537 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2548 หลักสูตรนี้ได้ปิดในปีการศึกษา 2550 เพราะความต้องการของผู้เรียนมีน้อยลง เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง ) ภาคพิเศษหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2548 หลักสูตรนี้เปิดรับเพียงรุ่นเดียว เนื่องจากความต้องการของผู้เรียนมีน้อยลง และคณะฯมีแผนรับนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศสตรบัณฑิต (4 ปี) เพิ่มขึ้นตามตามแผนเร่งรัดการผลิตบัณฑิตพยาบาลของรัฐบาล เป็นระยะเวลา 10 ปี เริ่มรับตั้งแต่ในปีการศึกษา 2550 หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545 จากเดิมมี 6 สาขาวิชา เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2548 มี 5 สาขาวิชา คือ การพยาบาลเด็ก การพยาบาลผู้ใหญ่ (มีภาคปกติและภาคพิเศษ) การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลครอบครัวและชุมชน และการบริหารการพยาบาล โดยยกเลิกสาขาวิชาการพยาบาลสตรีซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสาขาวิชาผดุงครรภ์ขั้นสูง
ปีการศึกษา 2549
ปรับเปลี่ยนหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2540 เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549
ปีการศึกษา 2550
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2550 มี 2 แผน แผน ก แบบ ก 2 และแผน ข ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2548 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550 มี 5 สาขาวิชา ได้แก่ การพยาบาลเด็ก การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช สาขาการบริหารการพยาบาล และผดุงครรภ์ขั้นสูง โดยยกเลิก สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน แต่ได้ปรับเป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2545 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล(หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2545 เป็นหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล(หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550
ปีการศึกษา 2551
ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2546 เป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2551 เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่เน้นการผลิตบัณฑิตทางบริหารการพยาบาลโดยตรง โดยยกเลิกสาขาวิชาการบริหารการพยาบาลที่อยู่ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550
สัญลักษณ์คณะ
ดอกไม้ : ดอกปีบ
ดอกปีบ เป็นไม้ยืนต้นที่ให้ความร่มรื่น เป็นยาอายุวัฒนา เป็นไม้ขึ้นเร็ว ทนต่อทุกสภาพภูมิประเทศ สามารถสร้างเสริมธรรมชาติที่ชุบและดำรงชีวิตแก่มวลมนุษย์ชาติตลอดกาล ดอกปีบจึงถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงถือเอาดอกปีบเป็นดอกไม้ประจำคณะ
สี : สีส้ม(แอปริคอท)
คำขวัญ : CARE
C = Collaboration
A = Autonomy
R = Responsibilty
E = Excellence
คำขวัญ : CARE
C = Collaboration
A = Autonomy
R = Responsibilty
E = Excellence
วิสัยทัศน์เเละพันธกิจของคณะพยาบาลศาสตร์
กระบวนการซึ่งการได้มาซึ่งวิสัยทัศน์เเละพันธกิจ ของคณะพยาบาลศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการประจำคณะ เรื่อง วิสัยทัศน์เเละพันธกิจของคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 - 24 เมษายน 2541 โดยได้วิเคราะห์กระเเสของการเปลี่ยนแปลงเเละความต้องการในอนาคต ความพร้อมเเละข้อจำกัดของคณะพยาบาลศาสตร์ ผลจากการประชุมได้กำหนดพันธกิจเป้าประสงค์ MOTTO ของคณะฯ ดังนี้
พันธกิจคณะพยาบาลศาสตร์ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางในเอเชียทางวิชาการการพยาบาล โดยเน้นการพยาบาลเเบบองค์กรรวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ด้วยระบบการจัดการเเบบพึ่งพาตนเอง
เป้าประสงค์ (GOAL) กำหนดไว้ 2 ประการ คือ 1) คณะฯ เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียทางวิชาการ การพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก 2) การมีระบบการบริการจัดการเเบบพึ่งพาตนเอง
MOTTO ของคณะพยาบาลศาสตร์
M = Moral
A = Accountability
H = Holistic
I = International
N = Networking
E = Efficiency
S = Self Sufficient
ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะ ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการประจำคณะ เรื่อง การเเปลงพันธกิจไปสู่การปฏิบัติการ จำนวน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 18 - 22 พฤษภาคม 2541 เเละวันที่ 27 มิถุนายน 2541
วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เชิญบุคลากรทั้งหมดของคณะประชุมเพื่อรับฟังการชี้เเจงความคืบหน้าการจัดทำพันธกิจเเละเเผนกลยุทธ์ของคณะ เเละเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เสนอเเนะข้อคิดเห็นพร้อมกับการได้เเต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ผู้เเทนจากภาควิชา/หน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่เผยเเพร่ข้อมูลข่าวสารเเละรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับพันธกิจของคณะฯ
วันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2541 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดสัมมนาผู้บริหารระดับคณบดี ที่จังหวัดตรัง โดยมีประเด็นสัมมนาเกี่ยวกับการกำหนดวิสัยทัศน์เเละพันธกิจขององค์กร ซึ่งในส่วนของคณะพยาบาลศาสตร์ มีข้อเสนอเเนะต่อการกำหนดวิสัยทัศน์เเละพันธกิจว่า กำหนดพันธกิจได้ชัดเจน ท้าทายมีความ
เเปลกใหม่ เเต่ขาดประเด็นในด้านการตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นเเละมีคำถามว่า ภูมิปัญญาตะวันออก กับการบริหารจัดการเชิงธุรกิจนั้น จะสามารถทำไปด้วยกันหรือไม่
วันที่ 14 มีนาคม 2542 ทีมบริหารของคณะพยาบาลศาสตร์ ได้นำข้อคิดเห็นที่ได้จากบุคลากรทุกหน่วยงานของคณะฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาปรับปรุงวิสัยทัศน์เเละพันธกิจของคณะฯ เป็นดังนี้
วิสัยทัศน์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการการพยาบาลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ภายในปี พ.ศ. 2555
พันธกิจ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ด้านการศึกษาพยาบาล การวิจัยเเละการบริการวิชาการทางการพยาบาล ตามมาตรฐานสากลเเละเน้นการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ด้วยการเป็นองค์กรเรียนรู้ที่มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเเละมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันที่ 31 มีนาคม 2542 คณะฯ เชิญบุคลากรทั้งหมดของคณะฯ ร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเเละให้ข้อเสนอเเนะเกี่ยวกับวิสัยทัศน์เเละพันธกิจ เเละ MOTTO ของคณะฯ เเละได้เสนอวิสัยทัศน์เเละพันธกิจเเละ MOTTO ต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2542 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2542 ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เเละ MOTTO
ของคณะพยาบาลศาสตร์ ดังนี้
วิสัยทัศน์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการการพยาบาลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเน้นการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ภายในปี พ.ศ. 2555
พันธกิจ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ด้านการศึกษาพยาบาล การวิจัยเเละการบริการวิชาการทางการพยาบาล โดยเน้นการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ด้วยการเป็นองค์กรเรียนรู้ที่มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเเละมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
MOTTO
คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้คำว่า "CARE" ซึ่งย่อมาจากคำ ดังนี้
C = Collaboration
A = Autonomy
R = Responsibility
E = Excellence
วันที่ 6 ตุลาคม 2543 คณะฯ เชิญบุคลากรทั้งหมดของคณะฯ ร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น(ร่าง) เเผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2544 - 2549 โดยที่ประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นต่อวิสัยทัศน์เเละพันธกิจ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เเละพันธกิจอีกครั้งหนึ่งเเละใช้มาจนถึงปัจจุบัน
คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้คำว่า "CARE" ซึ่งย่อมาจากคำ ดังนี้
C = Collaboration
A = Autonomy
R = Responsibility
E = Excellence
วันที่ 6 ตุลาคม 2543 คณะฯ เชิญบุคลากรทั้งหมดของคณะฯ ร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น(ร่าง) เเผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2544 - 2549 โดยที่ประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นต่อวิสัยทัศน์เเละพันธกิจ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เเละพันธกิจอีกครั้งหนึ่งเเละใช้มาจนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการการพยาบาลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเน้นการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกภายในปี พ.ศ. 2555
พันธกิจ คณะพยาบาลศาสตร์
พันธกิจ 1 ผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ 2 สร้างสมเเละประยุกต์องค์ความรู้ทางการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกสู่การสอนเเละสังคม
พันธกิจ 3 เป็นองค์กรเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการการพยาบาลในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเน้นการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกภายในปี พ.ศ. 2555
พันธกิจ คณะพยาบาลศาสตร์
พันธกิจ 1 ผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
พันธกิจ 2 สร้างสมเเละประยุกต์องค์ความรู้ทางการพยาบาลเเบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกสู่การสอนเเละสังคม
พันธกิจ 3 เป็นองค์กรเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อปริญญา
ชื่อปริญญา
ชื่อย่อปริญญา : ภาษาไทย พย.บ. (พยาบาลศาสตรบัณฑิต)
ภาษาอังกฤษ B.N.S.(Bachelor of Nursing Program)
ปรัชญา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เชื่อว่าบุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีความเป็นอิสระในตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ มีความเอื้ออาทรต่อกัน และร่วมมือร่วมใจในการทำงานภายใต้ระบบการประกันคุณภาพ และสามารถสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตพยาบาลที่มีความรู้คู่คุณธรรม มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง สังคม และวิชาชีพ และยังนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางของการศึกษา การวิจัยทางการพยาบาลและการสาธารณสุข ตลอดจนการให้บริการวิชาการแก่สังคม
วัตถุประสงค์
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
2. ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาลและสาธารณสุข รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
3. เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาด้านการพยาบาลแบบองค์รวมที่ผสมผสาน ภูมิปัญญาตะวันออก
4. เป็นศูนย์กลางในการให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพ ส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
5. ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และบูรณาการศิลปวัฒนธรรมไทยใน การดูแลสุขภาพ
กรอบมโนทัศน์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมุ่งหวังให้นักศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพการพยาบาลภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่หลากหลายและส่งผลต่อระบบบริการสุขภาพของประเทศ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ ทักษะและเจตคติที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในฐานะบุคคลในสังคมยุคปัจจุบัน การจัดหลักสูตรได้กำหนดกรอบมโนทัศน์ที่สำคัญที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ คือ คน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพยาบาลแบบองค์รวม โดยคนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและชุมชนภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพตั้งแต่ดี เจ็บป่วยจนถึงตาย การเปลี่ยนแปลงสุขภาพที่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัต ตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดถึงสูงอายุ การพยาบาลจึงเป็นการดูแลช่วยเหลือแบบองค์รวม แก่บุคคลทุกวัย ทุกภาวะสุขภาพและทุกบริบทของสังคม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันภาวะเสี่ยงและการเกิดโรค การกลับเป็นซ้ำ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลรักษา ตั้งแต่ขั้นเบื้องต้นจนกระทั่งเจ็บป่วยที่รุนแรงให้สามารถดำรงอยู่ในสุขภาวะ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเอง การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออกโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ทั้งนี้หลักสูตรได้กำหนดกระบวนการที่นักศึกษาต้องพัฒนาตลอดระยะเวลาที่ศึกษา คือ กระบวนการพยาบาล กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการบริหาร กระบวนการศึกษาด้วยตนเองและวิจัย และกระบวนการพัฒนาจรรยาวิชาชีพ
แนวทางการจัดการศึกษา
7.1 เรียนรู้จากสิ่งที่ไม่ซับซ้อนไปสู่สิ่งที่ซับซ้อน
7.2 จัดประสบการณ์การเรียนรู้ และจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
7.3 จัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเรียนรู้การพยาบาลแบบองค์รวมในสถานบริการด้านสุขภาพ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
7.4 จัดประสบการณ์ทั้งในหลักสูตรและเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ในสังคม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 การเตรียมความพร้อมด้านสังคมและพื้นฐานวิชาชีพ การเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตในฐานะบุคคลหนึ่งในสังคม เป็นการเตรียมนักศึกษาให้รู้จักตน รู้จักคน รู้จักสังคม และวิถีชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และการเตรียมความพร้อมด้านการพยาบาลขั้นพื้นฐาน เทคนิคการพยาบาลที่นำไปสู่การพยาบาลในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เรียนรู้หลักการ และฝึกฝนให้มีความสามารถในทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น
ระดับที่ 2 การพยาบาลในระบบบริการสุขภาพที่ไม่ซับซ้อน เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและการป้องกันภาวะเสี่ยงและการเกิดโรค ในกลุ่มผู้ใช้บริการทุกวัยที่มีภาวะสุขภาพดี หรือภาวะสุขภาพเบี่ยงเบนเล็กน้อย ตลอดจนการดูแลรักษาโรคเบื้องต้นตามขอบเขตของวิชาชีพ
ระดับที่ 3 การพยาบาลในระบบบริการสุขภาพที่ซับซ้อนและวิกฤต เป็นการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทุกวัยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล และโรงพยาบาล ทั้งที่มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน เรื้อรัง และวิกฤตที่พบบ่อยเพื่อการดูแลรักษา การดูแลแบบประคับประคอง และฟื้นฟูสมรรถภาพ การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การสร้างเสริมสุขภาพและการวางแผนการจำหน่ายผู้ใช้บริการ โดยเน้นการทำงานแบบทีมสหวิทยาการ
ระดับที่ 4 การพยาบาลแบบบูรณาการ เป็นการผสมผสานความรู้ ทักษะ ทุกระดับมาใช้ในการให้การพยาบาลแก่ผู้ใช้บริการทุกวัย ทุกภาวะสุขภาพ ในการให้บริการที่บ้าน ชุมชน สถานพยาบาล และโรงพยาบาล รวมทั้งการพัฒนาทักษะด้านการบริหารการพยาบาล และการบริหารโครงการที่มุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการด้านสุขภาพ
ทั้งนี้ในการพัฒนานักศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และสามารถจัดการศึกษาได้ครบถ้วน ตามประสบการณ์การเรียนรู้ทั้ง 4 ระดับ ดังกล่าวแล้ว คณะฯ ยังได้กำหนดกระบวนการที่นักศึกษาต้องพัฒนา 5 กระบวนการคือ
1) กระบวนการพยาบาล
2) กระบวนการเรียนการสอน
3) กระบวนการบริหาร
4) กระบวนการศึกษาด้วยตนเองและวิจัย และ
5) กระบวนการพัฒนาจรรยาวิชาชีพ จึงได้จัดกระบวนการพัฒนาสมรรถนะที่เกิดขึ้นในแต่ละชั้นปีการศึกษา ดังแสดงในแผนภูมิที่ 1 “ความต่อเนื่องของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษา” << คลิ๊กที่นี่เพื่อดูแผนภูมิ >>
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
1) กระบวนการพยาบาล
2) กระบวนการเรียนการสอน
3) กระบวนการบริหาร
4) กระบวนการศึกษาด้วยตนเองและวิจัย และ
5) กระบวนการพัฒนาจรรยาวิชาชีพ จึงได้จัดกระบวนการพัฒนาสมรรถนะที่เกิดขึ้นในแต่ละชั้นปีการศึกษา ดังแสดงในแผนภูมิที่ 1 “ความต่อเนื่องของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษา” << คลิ๊กที่นี่เพื่อดูแผนภูมิ >>
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และโครงการพิเศษของคณะพยาบาลศาสตร์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และเป็นไปตามประกาศการรับนักศึกษาของโครงการพิเศษของคณะพยาบาลศาสตร์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
ระบบการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตรเรียนเต็มเวลา ระดับปริญญาตรี ระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
การลงทะเบียนเรียน
เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
การวัดและการประเมินและการสำเร็จการศึกษา
14.1 การวัดและประเมินผลเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี ระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และการวัดและประเมินผลของคณะพยาบาลศาสตร์
14.2 การเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาและการอนุมัติปริญญาจะต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรอบรู้นักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะพยาบาลศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ 12 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 27 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาชีพ จำนวน 77 หน่วยกิต
1) รายวิชาทฤษฎี 47 หน่วยกิต
2) รายวิชาปฏิบัติ 30 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
การประกันคุณภาพหลักสูตร
การประกันคุณภาพหลักสูตร
มีการประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
การบริหารหลักสูตร
1) มีผู้รับผิดชอบหลักสูตร คือ คณะกรรมการการศึกษาระดับปริญญาตรี ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์
2) มีระบบการรายงานข้อมูลหลักสูตร การจัดการศึกษา และข้อมูลอาจารย์ผู้สอน
3) มีการประเมินผลอาจารย์ผู้สอน และประเมินผลรายวิชาโดยนักศึกษา
4) มีกระบวนการติดตามประสิทธิภาพและผลการเรียนของนักศึกษาในทุกชั้นปี
5) นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1) ห้องเรียน ห้องเรียนกลุ่มย่อย ห้องปฏิบัติการ ห้องคอมพิวเตอร์ และสถานฝึกปฏิบัติงาน
2) ห้องอ่านหนังสือของคณะพยาบาลศาสตร์ และห้องสมุดวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าของนักศึกษา
การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
1) มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำชั้นปี (ด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมนักศึกษา) ที่พร้อมจะให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
2) มีกระบวนการติดตามประสิทธิภาพและผลการเรียนของนักศึกษาในทุกชั้นปี
3) มีระบบการติดตามและช่วยเหลือนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำ
ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
1) มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตและภาวะการได้งานทำของบัณฑิตโดยมหาวิทยาลัยทุกปี เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
2) มีการประเมินผลหลักสูตรโดยนักศึกษาทุกปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
การพัฒนาหลักสูตร
1. ดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
1) มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาตามที่ สมศ. และมหาวิทยาลัยกำหนด
2) จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใน
2. ระยะเวลาการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา และการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตร
1) มีการประเมินผลหลักสูตรโดยนักศึกษาทุกปีการศึกษา
2) มีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี
3) หลักสูตรที่เปิดสอนกำหนดการประเมินครั้งต่อไป ปี พ.ศ. 2556
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น