วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

อาหารช่วยแก้ข้ออักเสบ

                     อาหารช่วยแก้ข้ออักเสบ



ในปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น และหลายคนคงมีอาการปวด ตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมากๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ เวลามีอากาศเย็นขึ้นเช่น ในฤดูหนาว บุคคลประเภทนี้ มีความเป็นไปได้สูง ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ (Arhritis) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของโรคกลุ่มนี้ ซึ่งแยกออกมาได้กว่า 200 ชนิดที่พบบ่อยมีอยู่ สองชนิด คือ โรคข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบเรื้อรัง (Osteoarthritis) และโรคข้ออักเสบรูมาดอยด์ หรือปวดข้อรูมาดอยด์ (The Rumatoid arthritis) ทั้ง 2 ชนิด มีสาเหตุของโรคต่างกันคือ

โรคข้อเสื่อมนั้น เกิดจากความทรุดโทรมของกระดูกอ่อน ที่หุ้มข้อกระดูกค่อยๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหว จนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น ส่วนโรคข้อักเสบรูมาดอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง และโรคนี่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะช่วยอายุระหว่าง 22-55 ปี และเพศหญิงมีแนวโน้ม ที่จะเป็นโรคนี่ได้มากกว่า เพศชายถึง 3 เท่า ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีอาการเป็นๆ หายๆ ไปตลอด แต่ในผู้ป่วยบ้างชนิดก็เป็นไปได้เช่นกัน

ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่มีน้ำหนักตัว มากกว่าเกณฑ์ปกติ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ก็มีสิทธิ์เป็นได้นักกรีฑา นักวิ่ง นักกระโดดสูง ล้วนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่หัวเข่า และข้อเท้ามากเป็นพิเศษ ในการวิ่งหรือกระโดด ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อกระดูก เหมือนคนที่มีน้ำหนักมากเช่นกัน

สำหรับอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคนี้ ส่วนใหญ่แล้วแนะนำ ให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับ ผู้ควบคุมน้ำหนัก เป็น อาหารไขมันต่ำ และเน้นให้กินผัก ผลไม้เป็นหลัก เพราะคนอ้วน หรือคนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้พยายามควบคุมน้ำหนัก กับการรักษาโรคด้วยยา โดยเน้นไปที่อาหารกลุ่มธัญพืชที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และผักใบเขียวต่างๆ ที่เป็นแหล่งเบต้า-แคโลทีน แคลเซียม โดเลต เหล็ก วิตามินซี ควรกินให้ได้ทุกวัน วันละนิดก็ได้ แต่ควรให้รับสม่ำเสมอ

นอกจากอาหารควบคุมน้ำหนักต่างๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ ควรบริโภคปลาที่มีน้ำมันปลาด้วย เพราะมีหลักฐานว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในกฎไขมันไม่อิ่มตัวในปลา มีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจกินในรูปของแคปซูลน้ำมัน ปลาแต่ต้องกินตามคำแนะนำบนฉลาก ไม่ควรกินเกินกว่าที่กำหนดไว้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว น้ำมันจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส ก็มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้เช่นกัน ก่อนกินควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถกินได้หรือไม่ สำหรับอาหารที่ควรพิจารณาเข้าไว้เป็นประจำ ก็คือ

ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 มากเช่น ปลาแชลมอน ปลาซาดีนปลากระบอก ปลาทู ปลาดุก ปลาช่อนเป็นต้น โดยเฉพาะผู้เป็นโรคอักเสบรูมาดอยด์

ธัญพืชที่ไม่ขัดสีมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮสวีด จมูกข้าวสารี ถั่วต่างๆ สำหรับถั่ว ไม่ควรกินมากเพราะมีแคลอรีสูง

ผักผลไม้ เช่นผักใบเขียวต่างๆ กล้วยที่เป็นแหล่งโปรแตสเซียม และใยอาหารควรกินอย่างน้อยให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แม้กระทั่ง ขิงก็พบว่ามีสารช่วยลดอาการอักเสบได้เช่นกัน จึงควรกินอย่างน้อย 5 กรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมไปถึงขึ้นฉ่าย ฝรั่งหรือเซเลอรีนั้น ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาดอยต์นั้น แพทย์แนะนำว่า ควรบริโภคถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้จากน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนอาหารที่ควรงดไปเลย หรือกินเพียงเล็กน้อย คือ อาหารที่ผ่านกรรมวิธีขัดสีจนขาว และอาหารรสเค็มจัด หรือหวานจัด ลดอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น เนย เนยแข็ง น้ำมันมะพร้าว





แหล่งข้อมูล : www.yingthai-mag.com - ฉบับที่ 682 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2547






.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น