โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะพร่องของแร่ธาตุในกระดูก ทั้งด้านความหนาแน่น ปริมาณ และความแข็งแรง ภาวะดังกล่าวนี้จะทำให้กระดูกบางลงเพิ่มความสี่ยงที่กระดูกจะหัก
ประมาณกันว่ามีชาวอเมริกันถึง 20 ล้านคน โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทองเป็นโรคนี้หรือเสี่ยงต่อโรคนี้ แม้ว่ากระบวนการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรงอาจต้องใช้เวลาตลอดทั้งชีวิต แต่ช่วงที่เสี่ยงต่อโรคนี้ส่วนใหญ่คือวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในระยะแรกอาการของโรคแทบจะไม่ปรากฏ แต่กระนั้นโรคนี้ก็ร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าสามารถทำให้กระดูกสันหลังหรือสะโพกแตกร้าว ซึ่งน้อยคนนักที่รอดชีวิตมาได้หากอาการลุกลามไปถึงขั้นนั้น
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยให้เราป้องกันหรือชะลอการบุกรุกของโรคนี้ได้ โดยบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำ
• ผลไม้และผักใบเขียวที่ปลูกแบบปลอดสารพิษ
• ผลิตภัณฑ์นม (ถ้าคุณแพ้นม หรือรับประทานนมไม่ได้ ให้ดื่มนมถั่วเหลืองเสริมวิตามิน D แทน)
• กุ้ง, ปลาคอด
• เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่นๆ
• ปลาทะเล
• แอปเปิ้ล
• หลีกเลี่ยง กาแฟ น้ำอัดลม น้ำตาลฟอกขาว เนื้อสัตว์ และเกลือ
• ผลไม้และผักใบเขียวที่ปลูกแบบปลอดสารพิษ
• ผลิตภัณฑ์นม (ถ้าคุณแพ้นม หรือรับประทานนมไม่ได้ ให้ดื่มนมถั่วเหลืองเสริมวิตามิน D แทน)
• กุ้ง, ปลาคอด
• เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่นๆ
• ปลาทะเล
• แอปเปิ้ล
• หลีกเลี่ยง กาแฟ น้ำอัดลม น้ำตาลฟอกขาว เนื้อสัตว์ และเกลือ
โรคหอบหืด คือ ภาวะที่ช่องทางสำหรับลำเลียงอากาศเข้าสู่ปอดไม่ปกติ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อที่อ่อนนุ่มล้มเหลวในการขนถ่ายอากาศ จนเส้นทางดังกล่าวปิดในที่สุด จึงยากที่อากาศจะเข้าหรือออกจากปอด นำไปสู่อาการหายใจขัดหรือหายใจลำบาก ถ้าอาการเหล่านี้ดำเนินต่อไปเป็นเวลาชั่วระยะหนึ่ง อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติหรือเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายในได้
แม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีช่วงเวลาที่ไม่ปรากฏอาการ แต่พวกเขาก็ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวว่า อาการอาจจะกำเริบขึ้นมาในวินาทีใดวินาทีหนึ่ง โชคดีที่อย่างน้อยก็ยังมีอาหารจำพวกหนึ่งที่ช่วยลดการปะทุของโรค และบรรเทาอาการที่เกิดจากสภาวะอ่อนเพลียนี้ สิ่งที่ควรรับประทานได้แก่
• ผักและผลไม้ปลอดสารพิษ
• ปลาทะเล เช่น ปลาคอด แซลมอน แมคเคอเรล แฮริ่ง
• น้ำมันมะกอก
• โรสแมรี่ ขิง
• ลดการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งเป็นตัวเพิ่มความรุนแรงของอาการหอบหืด
• ผักและผลไม้ปลอดสารพิษ
• ปลาทะเล เช่น ปลาคอด แซลมอน แมคเคอเรล แฮริ่ง
• น้ำมันมะกอก
• โรสแมรี่ ขิง
• ลดการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งเป็นตัวเพิ่มความรุนแรงของอาการหอบหืด
โรคมะเร็งลำไส้ สามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดก็ได้ของลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์ของลำไส้สัมผัสกับสารเคมีหรือสารก่อมะเร็งจน DNA ของเซลล์ถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การผ่าเหล่า (mutation) ในเซลล์ และเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวอย่างปราศจากการควบคุมและกระจายไปทั่วร่างกาย จนอวัยวะเสียหายและถึงแก่ชีวิตในที่สุด แม้ว่าพันธุกรรมจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ แต่นักวิจัยเชื่อว่า 90% มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารของแต่ละคน ดังนั้น วิธีป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ที่ดีที่สุด คือ รับประทานอาหารให้เหมาะสม ซึ่งมีดังต่อไปนี้
• ผักและผลไม้ที่ปลูกแบบออร์แกนิค โดยเฉพาะ แอปเปิ้ล แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่
• น้ำมันมะกอก
• แป้งไม่ขัดขาวเพื่อเพิ่มเส้นใย
• ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แฮริ่ง แมคเคอเรล เพื่อเพิ่มกรดไขมัน โอเม้า-3
• หัวหอม กระเทียม ต้นหอม ขมิ้น ขิง
• โยเกิร์ต
• บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี
• ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
• ส้ม มะนาว หรือผลไม้รสเปรี้ยว
• หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ กรดไขมันโอเมก้า-6 ไขมันอิ่มตัว น้ำตาลฟอกขาว และแอลกอฮอล์
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น